โซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต , STPP , Sodium Tripolyphosphate


ชื่อทั่วไป  โซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต ,STPP , Sodium Tripolyphosphate

แหล่งกำเนิดสินค้า            ประเทศจีน

ประเภทอาหาร                 วัตถุเจือปนอาหาร

ลักษณะสินค้า                  เป็นผงหรือเม็ดสีขาวละลายน้ำได้

สูตรทางเคมี                    NaPO₁₀

การบรรจุและเก็บรักษา      เก็บในภาชนะปิดสนิท ห่างจากแสงแดดและความร้อน

 

ข้อมูลทั่วไปและการใช้งาน


STPP เป็นสารที่ทำให้การระคายเคืองเมื่อมีการสัมผัส STPP ใช้มากในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ทั้งในอุตสาหกรรมและบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารสัตว์ โลหะ สี เยื่อกระดาษ และเซรามิกส์ แต่ที่ใช้กันมากจะเป็นการผลิตผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและพื้นผิวต่าง ๆ

        โดย STPP มีคุณสมบัติลดความกระด้างของน้ำช่วยให้การซักล้างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นสารบัฟเฟอร์ จับคราบสกปรกและกันไม่ให้สิ่งสกปรกย้อนกลับมาติดพื้นผิวอีก สำหรับในอุตสาหกรรมอาหารจะช่วยเพิ่มการอุ้มน้ำของเนื้อสัตว์และอาหารทะเล ป้องกันโปรทีนเสื่อมคุณภาพ รักษาสีสันของผลิตภัณฑ์

        สารประกอบฟอสเฟตเป็นสารที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายๆชนิดเช่น อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตนม ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ โดยการผลิตสารประกอบฟอสเฟตนั้นสามารถผลิตได้จากกระดูกสัตว์ หินฟอสเฟต หรือปฏิกิริยาระหว่างไอออนของโลหะกับกรดฟอสฟอริก ซึ่งสารประกอบฟอสเฟตนั้นได้รับการรับรองในเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ปลอดภัย(GRAS; Generally Recognized as Safe) จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในประเทศไทยตามประการของกระทรวงสาธารณสุข (2547) นั้นได้มีการกำหนดปริมาณของสารประกอบฟอสเฟตสูงสุดที่สามารถใส่ในผลิตภัณฑ์เนื้อหมัก เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แฮม และขาหมูรมควันไว้ที่ 3000 มิลลิกรัม ต่อผลิตภัณฑ์ 1กิโลกรัม

 

ประโยชน์ด้านต่างๆโดยวัตถุประสงค์ของการใส่สารประกอบฟอสเฟตในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เพื่อ

         1. ทำสีของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ให้มีความคงตัว

         2. เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อสัตว์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ได้นั้นมี รสสัมผัสที่นุ่มและมีความชุ่มฉ่ำมากขึ้น

         3. ป้องกันการเกิดกลิ่นและรสชาติที่น่ารับประทาน โดยสารประกอบฟอสเฟตนั้นจะมีฤทธิ์ในการช่วยกันการหืนของอาหาร

         4. ยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์

         5. ลดปริมาณของโซเดียมคลอไรด์ที่ใช้ในกระบวนการแปรรูป

 

#โซเดียมไตรโพลีฟอสเฟต #STPP #SodiumTripolyphosphate #ฟอสเฟต #โซเดียม #ไตรโพลี #ฟอสเฟต #อุ้มน้ำ #รักษาสี #ไส้กรอก #กุนเชียง #ขาหมูรมควัน #แฮม


  • #โซเดียมไตรโพลีฟอสเฟต #STPP #SodiumTripolyphosphate #ฟอสเฟต #โซเดียม #ไตรโพลี #ฟอสเฟต #อุ้มน้ำ #รักษาสี #ไส้กรอก #กุนเชียง #ขาหมูรมควัน #แฮม
    โซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต , STPP , Sodium Tripolyphosphate 500 กรัม ขายส่ง1กระสอบมี25กิโลกรัม หากสนใจซื้อยกกระสอบหรือปริมาณมากกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ กรุณาเลือกวิธีการจัดส่งให้ตรงกับปร...
    เหลือเพียง 49 บาท

  • #โซเดียมไตรโพลีฟอสเฟต #STPP #SodiumTripolyphosphate #ฟอสเฟต #โซเดียม #ไตรโพลี #ฟอสเฟต #อุ้มน้ำ #รักษาสี #ไส้กรอก #กุนเชียง #ขาหมูรมควัน #แฮม
    โซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต , STPP , Sodium Tripolyphosphate 1 กิโลกรัม ขายส่ง1กระสอบมี25กิโลกรัม หากสนใจซื้อยกกระสอบหรือปริมาณมากกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ กรุณาเลือกวิธีการจัดส่งให้ตรงกับ...
    เหลือเพียง 95 บาท

  • #โซเดียมไตรโพลีฟอสเฟต #STPP #SodiumTripolyphosphate #ฟอสเฟต #โซเดียม #ไตรโพลี #ฟอสเฟต #อุ้มน้ำ #รักษาสี #ไส้กรอก #กุนเชียง #ขาหมูรมควัน #แฮม
    โซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต ,STPP , Sodium Tripolyphosphate10 กิโลกรัม ขายส่ง1กระสอบมี25กิโลกรัม หากสนใจซื้อยกกระสอบหรือปริมาณมากกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ กรุณาเลือกวิธีการจัดส่งให้ตรงกับป...
    เหลือเพียง 910 บาท


โซเดียม ไตรโพลีฟอสเฟต (STPP) หรือ Sodium Tripolyphosphate

เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรทางเคมีคือ Na5P3O10 เป็นเกลือโซเดียมของกรดไตรฟอสฟอริก มีลักษณะเป็นผงสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ละลายน้ำได้ดี

STPP ใช้เป็นสารเติมแต่งอาหารในหลายประเภท เช่น

  • อาหารทะเลแปรรูป เช่น กุ้ง ปลา หมึก เพื่อช่วยรักษาความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์
  • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก หมูยอ แหนม เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อสัตว์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีรสชาติและกลิ่นหอมที่ดีขึ้น
  • ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เช่น ขนมปัง เค้ก คุกกี้ เพื่อช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์มีเนื้อสัมผัสที่นุ่มและคงตัวมากขึ้น
  • ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เพื่อช่วยรักษารสชาติและคุณภาพของผลิตภัณฑ์

 

STPP มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • ทำหน้าที่เป็นสารยึดเกาะ ช่วยให้เนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์อาหารมีความเหนียว นุ่ม คงตัว และยืดหยุ่นมากขึ้น
  • ช่วยเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อสัตว์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีรสชาติและกลิ่นหอมที่ดีขึ้น
  • ช่วยให้ผลิตภัณฑ์อาหารมีสีสันที่สดใสและคงตัว
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารมีความปลอดภัยมากขึ้น

STPP เป็นสารที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าไม่ควรบริโภค STPP เกิน 700 มิลลิกรัมต่อวัน

 

ข้อควรระวังในการใช้ STPP

  • ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 700 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ไม่ควรใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กเล็ก
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่มี STPP

ในประเทศไทย STPP เป็นสารเติมแต่งอาหารที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ภายใต้เลขสารบบอาหาร 1342/2550

เพิ่มเพื่อน

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 1,397,780