สารกันบูด (Sodium Benzoate)
สาระน่ารู้
สารกันบูด คือสารเคมีที่เราใส่เข้าไปในอาหารแล้ว จะช่วย ป้องกันหรือช่วยทำลายเชื้อจุลินทรีย์ไม่ให้เจริญเติบโต หรือป้องกันไม่ให้แพร่กระจายออกไป จึงไม่เกิดการสร้างของเสีย อาหารก็อยู่ได้นาน สารกันบูดจะมีชื่อทางเคมี แบ่งเป็น 3 พวกด้วยกัน คือ
- กรดเบ็นโซอิด
- กรดโซบิด
- สารไนเตรทกับสารไนไตรท์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ดิน ปะสิว ซึ่งแม่ค้าขายเนื้อแดดเดียวมักเข้าใจผิดคิดว่ายิ่งใส่มากเนื้อยิ่งแดงมาก ซึ่งไม่เป็นความจริง ดินปะสิวช่วยให้เนื้อดูแดงสดจริง แต่ไม่ใช่ให้แดงมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ
ทั้งสามกลุ่มนี้จะมีสีคล้าย ๆ กันคือสีขาว มักเป็นผลึกหรือผงแล้วแต่จะออกแบบมา ที่ขายกันตามท้องตลาดมักจะเป็นผง เมื่อใส่ในอาหารแล้วหากไม่มีการตรวจทางเคมีเราจะไม่รู้ว่าเป็นสารกันบูดชนิดไหน
แค่ไหนจึงจะไม่เป็นอันตราย
สารเคมีทั้ง 3 กลุ่มนี้ อนุญาตให้ใช้ได้โดยกระทรวงสาธารณสุข และมีข้อกำหนดว่าต้องใช้ในปริมาณจำกัด ดังนี้
- กลุ่มของกรดโซบิดและเบนโซอิด ที่เราใช้โดยทั่วไป อาจจะใช้ในรูปตัวกรดเอง หรือใช้ในรูปของเกลือโซเดียมหรือเกลือโปแตสเซียมของกรดก็ได้ กำหนดไว้ว่าใช้ได้ไม่เกิน 1 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมต่ออาหาร คิดง่าย ๆ ก็ประมาณ 1 ช้อนชาเรียบ ๆ ต่ออาหาร 5 กิโลกรัม จะเห็นว่าเป็นปริมาณที่น้อยมาก
- พวกดินประสิวหรือไนเตรทถ้าอยู่ในรูปเกลือโซเดียม ข้อกำหนดคือใช้ได้ไม่เกินครึ่งกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม หรือ 1 ช้อนชา ต่ออาหาร 10 กิโลกรัมขึ้นไป และหากเป็นพวกโซเดียมไนไตรท์จะยิ่งใช้น้อยลงไปอีกคือ ใช้ปริมาณน้อย ที่ห้ามเกิน 1 ช้อนชาเรียบ ต่ออาหาร 25 กิโลกรัม ต้องระมัดระวังการใช้เนื่องจากมีอันตราย ค่อนข้างสูง
อันตรายของสารกันบูด
ถ้าหากใช้ในปริมาณที่กำหนด และมีการควบคุมดูแลตรวจตราอยู่เสมอ ก็คงไม่เป็นอะไร แต่หากกินเป็นเวลานาน ๆ สมํ่าเสมอ และกินในขนาดที่เกินปริมาณกำหนดไว้ จะทำให้เกิดอันตราย คือ
1.เกิดอาการท้องเสียได้ในกลุ่มของกรดเบนโซอิคและโซบิค
2.พวกดินประสิวที่ใช้ทาให้เนื้อดูแดงสดอยู่เสมอ พิษนี้จะรุนแรงมากขึ้น เพราะนอกจากจะทำให้ท้องเสียแล้ว ยังทำให้เม็ดเลือดแดงเราเสียไปด้วย อาจเกิดอาการตัวเขียว หายใจไม่ออก ขาดออกซิเจน
ที่สำคัญคือ สารกันบูดตัวนี้จะไปทำปฏิกิริยากับสารบางอย่างในอาหาร ทำให้เกิดเป็นสารชนิดใหม่ขึ้นมา มีคุณสมบัติในการทำให้เกิดโรคมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ของสัตว์ทดลองได้ สำหรับคนก็น่าจะมีโอกาสในการทำให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน